การใช้งานเบื้องต้น
เปิดโปรแกรม Movie Maker แล้วกด “เพิ่มวิดีโอหรือรูปถ่าย“ มันจะมีหน้าต่างเลือก File ขึ้นมา ถ้ามีเพลง /
ชื่อเรื่อง / คำอธิบายภาพอื่นๆ ก็ใส่ลงไปแล้วก็ตัดต่อได้เลยครับ Video / รูป / เพลงจะโผล่บน Timeline ด้านขวา
บน Movie
Maker จะมีแถบหลักแค่ 6 แถบ
1. แฟ้ม [File]
งานที่เราตัดต่อไปทั้งหมดเรียกว่าโครงการ
[Project] แถบแฟ้มจะเอาไว้จัดการ Project ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก [Save] Project ที่ยังไม่เสร็จ
แล้วค่อยเปิดมาทำต่อวันหลัง หรือการตั้งค่า Program
2. หน้าแรก [Home]
จะรวบรวมเครื่องมือตัดต่อที่ใช้บ่อยๆ
เอาไว้
3. ภาพเคลื่อนไหว [Animations]
เอาไว้เลือกการเปลี่ยนภาพจาก Video นึงไปอีกอันนึง
4. Visual Effect
จะมี Effect
ต่างๆ ให้เราเลือกใช้กับ Video คล้ายๆ กับ Filter
ของ Instagram และยังปรับความสว่างได้ด้วย
5. โครงการ [Project]
เอาไว้จัดการเสียงและภาพว่าจะเน้นเสียงเพลง
/ เสียงจาก Video / เสียงพูดบรรยายให้อันไหนดังอันไหนเบา
และจะเอาอัตราส่วนแบบไหน จอกว้าง [16:9] เหมือน TV
จอแบนหรือขนาดมาตรฐานเหลี่ยมๆ [4:3] เหมือน TV ตู้
6. ดู [View]
จะมีให้เลือกขนาดของ Timeline / การแสดงคลื่นเสียง แต่ตรงนี้จะไม่มีผลกับ Video
เป็นแค่การตั้งค่าให้เราตัดต่อ Video ได้ง่ายขึ้น
การตัดต่อ Video ก็เหมือนการตัดกระดาษ ลากตัวบ่งชี้การเล่นสีดำ [เส้นสีดำๆ] ไปวางที่ต้องการตัด ตัด Video
ก็ไปที่แถบ “เครื่องมือวีดีโอ”
[Video Tools] แล้วกด “แยก”
[Split] เหมือนตัดกระดาษฉับๆ ส่วนตัดเพลงก็ไปที่แถบ “เครื่องมือเพลง” [Music Tools] แล้วกดแยกเหมือนเดิม
กดค้างที่ Video / เพลง / ข้อความบน Timeline แล้วเลื่อนไปมาเพื่อเปลี่ยนจุดเริ่มต้น / สิ้นสุด นอกนั้นก็ลองๆ เล่นดู
มันจะมีการปรับเสียง / เลือก Theme และอื่นๆ เมื่อเสร็จแล้วก็กดดูตัวอย่างที่ด้านซ้าย
พอใจก็ไปที่หน้าหลักแล้วกด “บันทึกภาพยนตร์”
วิดีโอสอนเพิ่มเติม : การใช้โปรแกรม Windows Live Movie Maker
ที่มา : https://phantipdiary.wordpress.com/2013/06/23/movie-maker/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น